อวกาศ
กาเเล็กซี่ทางช้างเผือก
ทางช้างเผือก (อังกฤษ: Milky Way) คือดาราจักรที่เป็นที่ตั้งของระบบสุริยะและโลกของเรา ชื่อภาษาอังกฤษของทางช้างเผือก (Milky Way) มาจากคำภาษากรีกว่า γαλαξίας κύκλος (กาลาซิอัส คูคลอส, "วงกลมสีน้ำนม") โดยเมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน แต่เดิมนั้นนักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า. เส้นผ่าศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือกมีระยะทางระหว่าง 150,000 ถึง 200,000 ปีแสง และมีจำนวนดาวฤกษ์ประมาณ 1 แสนล้าน ถึง 4 แสนล้านดวง ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร ณ จุดศุนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือกเป็นแหล่งคลื่นวิทยุที่มีความเข้มข้นสูง เรียกว่า คนยิงธนูเอ โดยจุดที่สัญญาณเข้มข้นที่สุดเรียกว่า คนยิงธนูเอ* ซึ่งมีหลุมดำมวลยิ่งยวด ที่มีขนาดมวลราว 4.100 (± 0.034) ล้านเท่าของมวลสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 ล้านกิโลเมตร
ระบบสุริยะอยู่ห่างจากใจกลางดาราจักรออกมาราว 26,490 (± 100) ปีแสง โดยตั้งอยู่ตรงขอบด้านในของแขนนายพราน (Orion Arm) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ
ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก
ที่มา : https://th.wikipedia.org/
มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา)